วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

ส่งงานค่ะ

นวัตกรรม
คำว่า นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ
ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร
นวัตกรรมในองค์กร
ในบริบทขององค์กร เราอาจเชื่อมโยงนวัตกรรมเข้ากับสมรรถนะ และ การเติบโต ด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพ ความสามารถในการผลิต คุณภาพ จุดยืนด้วยความสามารถในการแข่งขัน ส่วนแบ่งการตลาด ฯลฯ องค์กรทุกองค์กรสามารถสร้างนวัตกรรมได้ อาทิเช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และรัฐบาลท้องถิ่น
นวัตกรรม
มีผู้ให้ความหมายไว้มากมาย ในยุคแรกๆ จะพูดถึงอะไรที่เป็นสิ่งใหม่ๆ เท่านั้น ต่อมา โรเจอร์ ได้เริ่มกล่าวถึง การแพร่กระจายของนวัตกรรมด้วย Diffusion of Innovation อย่างไรก็ดี คำจำกัดความที่ดูเหมือนจะครอบคลุมที่สุด คือ Invention + Commercialization หรือ ต้องมีการนำสิ่งประดิษฐ์ที่คิดว่าใหม่ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง ทั้งทางธุรกิจ หรือ ทางสังคม ทั้งนี้รูปแบบของนวัตกรรม ก็สามารถแบ่งออกเป็นได้ตามรูปแบบ (Product, Service, Process) หรือ อาจแบ่งตามระดับความใหม่ก็ได้ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ Incremental, Modular, Architectural และ Radical Innovation Teerapon.T (2008) กล่าวถึง Innovation หรือ นวัตกรรมว่า อาจหมายถึง สิ่งประดิษฐ์ หรือ สิ่งใหม่ ที่ต้องสร้างให้เกิด Value Creation คือ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้นั่นเอง

เทคโนโลยี
นาโนเทคโนโลยีเป็นที่สนใจในศตวรรษปัจจุบัน
เทคโนโลยี หรือ อาซฺโม่ประยุกตวิทยา ] หรือ เทคนิควิทยา มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีก่อเกิดผลกระทบต่อสังคมและในพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ เทคโนโลยีได้ช่วยให้สังคมหลาย ๆ แห่งเกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นซึ่งรวมทั้งเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ในหลาย ๆ ขั้นตอนของการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีได้ก่อให้ผลผลิตที่ไม่ต้องการ หรือเรียกว่ามลภาวะ เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างที่ถูกนำมาใช้มีผลต่อค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคม เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นก็มักจะถูกตั้งคำถามทางจริยธรรม
ความหมาย
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยี ผู้คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงเครื่องมือเครื่องจักรเชิงกลหรืออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย แต่ความเป็นจริงคือ เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานานตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มนุษย์นำความรู้จากธรรมชาติวิทยามาคิดค้นและดัดแปลงธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีวิต ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นระดับพื้นฐานอาทิ การเพาะปลูก การชลประทาน การก่อสร้าง การทำเครื่องมือเครื่องใช้ การทำเครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า เป็นต้น ปัจจัยการเพิ่มจำนวนของประชากร ข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการนำและการพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น
เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ถ่ายทอดมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (คริสต์ศตวรรษที่ 16-17) ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน เป็นต้น ตั้งเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีเพื่อถ่ายทอดและสอนให้ผู้อื่นได้ศึกษาและพัฒนา

เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาตั้งแต่ยุคโบราณ
ส่วนในความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พศ 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พศ 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการพัฒนาอย่างมาก กล่าวโดยสรุปดังนี้
1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น
ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและ รักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ
2. เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมี
บทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่นๆอีกมาก
ในทางเศรษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่าเป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (รวมถึงความรู้ว่าเราสามารถผลิตอะไรได้บ้าง) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิคของเราเพิ่มขึ้น
วิทยาการและความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เป็นที่สนใจของคนทุกมุมโลกทุกสาขา เทคโนโลยีจึงเป็นที่แพร่หลายและนำมาใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน การเรียนการศึกษาในสมัยนี้จึงมีหลักสูตรที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเข้าไปด้วย เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าที่สุดที่คนทั่วโลกให้ความสำคัญคือเทคโนโลยีสารสนเทศ เพราะปัจจุบันนี้อุปกรณ์หลายชนิดก็ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ มือถือ อินเทอร์เน็ต PDA GPS ดาวเทียม และไม่นานมานี้มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นการบ่งบอกว่าสังคมให้ความสำคัญแก่คอมพิวเตอร์

วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว
การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ
โดยทั่วไปเราถือกันว่า วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มต้นในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ โดยมี "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่" คือ กาลิเลโอ กาลิเลอี เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป. ณ ขณะนั้น กาลิเลโอได้กำหนดลักษณะสำคัญของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไว้ดังนี้
• ทำนายสิ่งที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายสาเหตุได้ เช่น ในขณะที่ยังไม่มีความรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงนั้น กาลิเลโอไม่สนใจที่จะอธิบายว่า "ทำไมวัตถุถึงตกลงสู่พื้นดิน ?" แต่สนใจคำถามที่ว่า "เมื่อมันตกแล้ว มันจะถึงพื้นภายในเวลาเท่าใด ?"
• ใช้คณิตศาสตร์เพื่อเป็นภาษาหลักของวิทยาศาสตร์ (ดูหัวข้อ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์)
ในเวลาต่อมา ไอแซก นิวตันได้ต่อเติมรากฐานและระบบระเบียบของแนวคิดเหล่านี้ และเป็นต้นแบบสำหรับสาขาด้านอื่นๆ ของวิทยาศาสตร์
ก่อนหน้านั้น, ในปี ค.ศ. 1619 เรอเน เดส์การตส์ ได้เริ่มเขียนความเรียงเรื่อง Rules for the Direction of the Mind (ซึ่งเขียนไม่เสร็จ). โดยความเรียงชิ้นนี้ถือเป็นความเรียงชิ้นแรกที่เสนอกระบวนการคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และปรัชญาสมัยใหม่. อย่างไรก็ตามเนื่องจากเดส์การตส์ได้ทราบเรื่องที่กาลิเลโอ ผู้มีความคิดคล้ายกับตนถูกเรียกสอบสวนโดย โป๊ปแห่งกรุงโรม ทำให้เดส์การตส์ไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ออกมาในเวลานั้น
การพยายามจะทำให้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นระบบนั้น ต้องพบกับปัญหาของการอุปนัย ที่ชี้ให้เห็นว่าการคิดแบบอุปนัย (ซึ่งเริ่มต้นโดยฟรานซิส เบคอน) นั้น ไม่ถูกต้องตามหลักตรรกศาสตร์. เดวิด ฮูมได้อธิบายปัญหาดังกล่าวออกมาอย่างละเอียด คาร์ล พอพเพอร์ในความคิดลักษณะเดียวกับคนอื่นๆ ได้พยายามอธิบายว่าสมมติฐานที่จะใช้ได้นั้นจะต้องทำให้เป็นเท็จได้ (falsifiable) นั่นคือจะต้องอยู่ในฐานะที่ถูกปฏิเสธได้ ความยุ่งยากนี้ทำให้เกิดการปฏิเสธความเชื่อพื้นฐานที่ว่ามีระเบียบวิธี 'หนึ่งเดียว' ที่ใช้ได้กับวิทยาศาสตร์ทุกแขนง และจะทำให้สามารถแยกแยะวิทยาศาสตร์ ออกจากสาขาอื่นที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ได้
ปัญหาเกี่ยวกระบวนการปฏิบัติของวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเกินขอบเขตของวงการวิทยาศาสตร์ หรือวงการวิชาการ ในระบบยุติธรรมและในการถกเถียงปัญหาเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ การศึกษาที่ใช้วิธีการนอกเหนือจาก แนวปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ จะถูกปฏิเสธ และถูกจัดว่าเป็น "วิทยาศาสตร์ขยะ" หรือศาสตร์ปลอม
นิยามศัพท์ทางวิทยาศาสตร์


โมเดลอะตอมของบอห์ร เป็นหนึ่งในโมเดลทางวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมาก ได้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อทดสอบความถูกต้องหลายต่อหลายครั้ง ดังจะเห็นได้จากการถูกเสนอขึ้นเป็นโมเดลที่แท้จริงของอะตอมเนื่องจากอธิบายปรากฏการณ์เส้นสเปกตรัมของไฮโดรเจนได้ และในเวลาต่อมาก็ถูกคัดค้านเนื่องจากอธิบายปรากฏการณ์อื่นๆ อีกหลายอย่างไม่ได้
คำว่า "โมเดล", "สมมติฐาน", "ทฤษฎี", และ"กฎทางกายภาพ" มีความหมายในทางวิทยาศาสตร์ไม่เหมือนกับที่ใช้กันทั่วไป นักวิทยาศาสตร์ใช้คำว่า โมเดล เพื่อหมายถึงคำอธิบายปรากฏการณ์บางอย่าง ที่สามารถนำไปใช้สร้างคำทำนายซึ่งตรวจสอบความถูกต้องได้ด้วยการทดลองหรือการสังเกต ในขณะที่ สมมติฐาน คือความเชื่อที่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนที่มากพอ และยังไม่ถูกพิสูจน์ว่าผิดพลาดด้วยการทดลอง ส่วน กฎทางกายภาพ หรือ กฎธรรมชาติ นั้น คือคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่มีนัยทั่วไป ที่วางรากฐานอยู่บนผลของการสังเกตเชิงประจักษ์
ผู้คนทั่วไปมักเข้าใจว่า ทฤษฎี นั้นหมายถึงแนวคิดที่ยังไม่มีบทพิสูจน์หรือข้อสนับสนุนที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์มักใช้คำว่าทฤษฎี เพื่อกล่าวถึงกลุ่มก้อนของแนวคิดที่ทำนายผลบางอย่าง การกล่าวว่า "ผลแอปเปิลหล่น" คือการระบุความจริง ในขณะที่ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของนิวตันคือกลุ่มของแนวคิดที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่าทำไมผลแอปเปิลถึงหล่น และทำนายการหล่นของวัตถุอื่นๆ ได้
ทฤษฎีที่ผ่านการทดสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนเป็นเวลานาน พร้อมกับมีหลักฐานจำนวนมากรองรับ จะถูกพิจารณาว่า "พิสูจน์แล้ว" ในความหมายทางวิทยาศาสตร์ โมเดลที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปเช่น ทฤษฎีอาทิตย์เป็นศูนย์กลางและทฤษฎีอะตอมนั้น มีหลักฐานที่มั่นคงจนยากจะเชื่อได้ว่าจะทฤษฎีจะผิดได้อย่างไร ส่วนทฤษฎีอื่นๆ เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพ, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือทฤษฎีวิวัฒนาการนั้น ผ่านการทดสอบที่เคร่งครัดอย่างมากมายโดยไม่พบข้อขัดแย้ง แต่ก็ยังเป็นไปได้ที่สักวันหนึ่งทฤษฎีเหล่านี้อาจถูกล้มล้างลง ทฤษฎีใหม่ๆ เช่นทฤษฎีสตริงอาจจะเป็นแนวคิดที่น่าเชื่อถือ แต่ก็ยังคงต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบที่หนักหน่วงเช่นเดียวกัน
นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยกล่าวอ้างถึงความรู้สัมบูรณ์ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์แม้จะถูกพิสูจน์แล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะถูกปฏิเสธได้ถ้าพบหลักฐานเพิ่มเติม แม้กระทั่งทฤษฎีพื้นฐานเอง วันหนึ่งก็อาจกลายเป็นทฤษฎีที่ไม่สมบูรณ์ได้ ถ้ามีผลการสังเกตใหม่ๆ นั้นขัดแย้งกับทฤษฎีเหล่านั้น
กลศาสตร์นิวตันที่ค้นพบโดยไอแซก นิวตันเป็นตัวอย่างที่โด่งดัง ของกฎที่ถูกพบในภายหลังว่าอาจไม่ผิดพลาด ในกรณีที่การเคลื่อนที่นั้นมีความเร็วเข้าใกล้ความเร็วแสง หรือวัตถุอยู่ใกล้กับสนามแรงโน้มถ่วงที่แรงมากๆ ในกรณีที่นอกเหนือจากนี้ กฎของนิวตันยังคงเป็นโมเดลที่เยี่ยมยอดของเคลื่อนที่และแรงโน้มถ่วง เนื่องจากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปนั้นครอบคลุมปรากฏการณ์ทั้งหมดที่กฎของนิวตันสามารถใช้ได้ และยังสามารถใช้ในกรณีอื่นๆ ได้อีก ทฤษฎีนี้จึงถูกจัดว่าเป็นทฤษฎีที่มีความถูกต้องมากกว่า
• มีอีกความเชื่อว่าวิทยาศาสตร์พัฒนามาจากเวทมนตร์
ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของวิทยาศาสตร์ในประวัติศาสตร์มนุษย์ ได้สร้างประเด็นคำถามทางปรัชญาไว้มากมาย. โดยนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ได้ตั้งคำถามทางปรัชญาที่สำคัญดังนี้
• สิ่งใดเป็นตัวแบ่งแยกความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับความรู้ประเภทอื่นๆ เช่น โหราศาสตร์
• ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความจริงหรือไม่
• ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เชื่อถือได้แค่ไหน
• วิทยาศาสตร์มีประโยชน์จริงๆ หรือไม่
• ศีลธรรมของวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม คือรูปแบบใด
ประเด็นเหล่านี้ยังเป็นที่ถกเถียงในหมู่นักปรัชญาวิทยาศาสตร์อย่างมากในปัจจุบัน และไม่มีความเห็นใดที่ได้รับการยอมรับทั่วไปอีกเลยทีเดียว

แม่คลอดลูก1

http://www.youtube.com/watch?v=vV-IoRTUpLg

แม่คลอดลูก

http://www.youtube.com/watch?v=VxKb_XCWOE0

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

นวัตกรรมใหม่ ไม้ผสมพลาสติก ช่วยปกป้องกันการกัดเซาะป่าชายเลน

นวัตกรรมใหม่ ไม้ผสมพลาสติก ช่วยปกป้องกันการกัดเซาะป่าชายเลน
ปัญหาหาน้ำทะเลกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล เป็นปัญหาที่ภาครัฐพยายามคิดค้น แนวทางในการแก้ไขมาโดยตลอด ล่าสุด สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ร่วมกับบริษัทเอกชน ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ชื่อ “โครงการซี-ออส (C-Aoss) แนวป้องกันการกัดเซาะพื้นที่ป่าชายเลนจากไม้ประกอบพลาสติก” โดยนำเอาไม้ซี-ออส ที่ผลิตจากพลาสติกผสมกับขี้เลื่อย มีลักษณะเด่น คือ แข็งแรงทนทานสูง ไม่มีสารพิษ และไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ นำมาออกแบบด้านวิศวกรรมให้อยู่ในลักษณะของรูปแคปซูลที่ถอดประกอบได้ ใช้เป็นแนวกั้นคลื่นกระทบชายฝั่ง นอกจากนี้ ยังมีปะการังเทียมที่ผลิตจากธรรมชาติ ที่ช่วยดักตะกอนดิน และสารอินทรีย์ ให้ตกตะกอนทับถมกัน เป็นแหล่งหากินของสัตว์น้ำ เช่น หอย ปู ปลา เพิ่มโอกาสในการทำอาชีพให้ชาวประมง หรือการทำเกษตรกรรมตลอดแนวชายฝั่งได้อีกด้วย โดยในเบื้องต้นนี้ได้นำไปทดสอบเพื่อใช้งานจริงที่ป่าชายเลน ตำบลพันท้ายนรสิงห์ จังหวัดสมุทรสาคร และในอนาคต จะนำไปใช้ในพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งทั่วประเทศต่อไป นับเป็นนวัตกรรมที่มีประโยชน์ทางด้านสังคม สามารถสร้างรายได้ให้ชาวประมง และหากมองในแง่ธุรกิจอาจเป็นการสร้างโอกาสในการส่งออกผลิตภัณฑ์แนวป้องกันแบบใหม่ ให้กับประเทศที่ประสบปัญหาได้อีกด้วย
ซึ่งจากเหตุการณ์นี้เป็นปัญหาสำหรับชาวประมง และชาวบ้านแถบชายฝั่งเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นการที่รัฐเข้ามาช่วยถือว่าเป็นนวัตกรรมที่สามารถช่วยบรรเทา และแก้ไขปัญหาได้ไม่มากก็น้อย และเป็นการสร้างอาชีพให้ชาวประมงมีรายเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สามารถช่วยเหลือชาวบ้าน และรวมไปถึงสัตว์น้ำได้ ลดปัญหาการเกิดปะการังฟอกขาวได้



จากหนังสือ สารคดีชุด 30 ปี กระทรวงวิทย์คิดเพื่อคนไทย

แก้ปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก ด้วย เขื่อน หรือ ฝาย

แก้ปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก ด้วย เขื่อน หรือ ฝาย
น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีประโยชน์มหาศาลต่อ ทุกๆ ชีวิต ประเทศเรามีศักยภาพของแหล่งน้ำอย่างเหลือเฟือ แต่เราก็ยังประสบกับภัยแล้งซ้ำซากอยู่ทุกปี!!! เพราะอะไรหรือ ?
ในอดีตที่เรายังมีประชากรน้อย อุตสาหกรรมยังไม่เติบโต เกษตรกรรมยังไม่ขยายตัว ทั้งการเพาะปลูกพืชในฤดูแล้งก็เป็นเพียงพืชไร่ในพื้นที่ป่าขนาดเล็กต้องการน้ำไม่มาก ในสภาพนั้นเราจึงมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ ตลอดปี ยกคุณความดีให้กับความอุดมสมบรูณ์ของป่าเขา ต้นน้ำ ลำธาร และสรุปว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำในปัจจุบันมีสาเหตุจากการ ตัดต้นไม้ ทำลายป่า ต้นน้ำลำธาร ถ้าจะให้มีน้ำใช้เพียงพอเหมือนในอดีต ก็จะต้องฟื้นฟูสภาพป่าเขา ต้นน้ำ ลำธาร ให้กลับคืนดีดังเดิม... นี่เป็นความจริงหรือ ?
การแก้ปัญหาภัยแล้งซ้ำซากด้วยวิธีนี้ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ
ประการแรก การฟื้นฟูสภาพป่าเขา ต้นน้ำ ลำธาร ยังคงทำได้ล่าช้ากว่าการถูกทำลาย แม้รัฐบาลจะใช้ความพยายามมาอย่างยาวนาน แต่ต้องใช้ความพยายามต่อไป
ประการที่สอง ถ้าวันหนึ่งเราฟื้นฟูสภาพต้นน้ำ ลำธาร สำเร็จ แต่ปริมาณน้ำในฤดูแล้งก็ไม่เพียงพอหับความต้องการ แม้ปัจจุบันก็ยิ่งขาดแคลนมากขึ้น เนื่องมาจากจำนวนของประชากรที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้ง เช่น การทำนาปรังที่ต้องใช้น้ำมาก... แล้วจะทำอย่างไร
อุปสรรคใหญ่ คือ การต่อต้านของกลุ่มอนุรักษ์ที่มีความรัก และหวงแหงทรัพย์สมบัติของชาติ โดยดำเนินการชี้นำราษฎรในพื้นที่โครงการให้เห็นว่าการก่อสร้างเขื่อนเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่จะนำภัยพิบัติมาให้
ปัจจุบันจึงเน้นไปที่กิจกรรมมวลชนสัมพันธ์
กิจกรรมแรก ควรดำเนินการเมื่อเริ่มต้นการศึกษาโครงการ เพื่อให้ประชนได้รับทาบลักษณะและแผนงานคร่าวๆ
กิจกรรมที่สอง ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น เพื่อนำไปปรับปรุง ให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนมากที่สุด
กิจกรรมสุดท้าย เมื่อได้กำหนดรูปแบบ และแผนงานโครงการชัดเจนแล้ว นำเสนอให้ประชาชนไดรับทราบ
เมื่อได้ข้อสรุปแล้วการแก้ไขปัญหาภัยแล้งซ้ำซากจำเป็นต้องกักเก็บน้ำส่วนเกินในฤดูแล้ง อาจจะเป็นสระน้ำ ฝาย หรือเขื่อนกักเก็บน้ำ
1. เป็นการก่อสร้างฝายกักเก็บน้ำบนลำน้ำ ปริมาตรกักเก็บเหนือฝายมีน้อย และยังมีตะกอนทรายตกทับถม ทำให้ปริมาตรลดลงอีก ฝายชนิดนี้มีประโยชน์น้อยมาก ถ้าไม่มีน้ำไหลเป็นปกติในลำน้ำระหว่างฤดูแล้ง เพราะจะแห้งขอดลง เแต่เดิมเราก่อสร้างฝายในลำน้ำที่มีต้นทุนไหลอยู่เพื่อผันน้ำเข้าสู่คลองส่งน้ำชลประทานที่มีปากคลองอยู่เหนือฝาย เรียกว่าฝายทดน้ำ คลองส่งน้ำสายหลักจะลัดเลาะไปตามเส้นชั้นความสูงมีคลองซอยเพื่อกระจายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกอย่างทั่วถึง
2. เป็นการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำนี้จะมีท่อส่งน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำส่งน้ำเข้าคลองชลประทาน หรือมีฝายทดน้ำผันน้ำเข้าพื้นที่ชลประทานทางด้านท้ายน้ำก็ได้
เห็นได้ว่าการแก้ปัญหาภัยแล้งซ้ำซากที่ดีควรจะมีเขื่อนเก็บกักน้ำไว้เป็นน้ำต้นทุนไว้ใช้ในฤดูแล้ง มีฝายทดน้ำทางท้ายน้ำเพื่อกระจายน้ำให้กับพื้นที่ที่ต้องการ ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เช่น เขื่อนภูมิพล ที่กักเก็บน้ำได้เป็นปริมาณที่มหาศาล เป็นแหล่งน้ำต้นทุน และมีเขื่อนเจ้าพระยา ที่ทำหน้าที่เป็นฝายทดน้ำส่งน้ำเข้าคลองหล่อเลี้ยงพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
การแก้ปัญหาภัยแล้งซ้ำซากจะเลือกใช้เขื่อน หรือฝาย หรือใช้ทั้งสองอย่างก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม



จากหนังสือ ก้าวสู่ทศวรรษที่ ๓ บทความวิชาการ เล่มที่ ๓ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

HEAT ISLAND

HEAT ISLAND

บทความนี้มีจุดประสงค์ที่จะชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหา แ ละแนวทางการแก้ไขเบื้องต้นจากประสบการณ์ต่างประเทศ

HEAT ISLAND
เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในเมืองที่มีความหนาแน่นสูง

HEAT ISLAND คืออะไร ?
คำว่า HEAT ISLAND หรือ “เกาะความร้อน” เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเขตชุมชนเมืองที่พบว่าอุณหภูมิในเมืองจะสูงกว่าอุณหภูมิโดยรอบมากกว่า 10 องศาฟาเรนไฮด์ หรือประมาณ 5-6 องศาเซลเซียส ซึ่งรูปแบบของอุณหภูมิตามปรากฏการณ์ “เกาะความร้อน”
ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เห็นความสำคัญของเรื่อง HEAT ISLAND เช่นเดียวกัน โดยจากผลการศึกษาของกระทรวงสิ่งแวดล้อม พบว่า พระราชวังอิมพีเรียล มีอุณหภูมิแตกต่างจากพื้นที่โดยรอบประมาณ 2 องศาเซลเซียส และในช่วงฤดูร้อนมีความแตกต่างได้มากถึง 4.3 องศาเซลเซียส

HEAT ISLAND เกิดขึ้นได้อย่างไร
1. การลดลงของพื้นที่สีเขียว ทำให้ร่มเงาหายไป และทำให้การระเหยของน้ำ และการคายน้ำของพืชสูงขึ้น ทำให้ความชื้นสูงขึ้น
2. สิ่งปลูกสร้างประเภทอาคารสูงๆ และถนนแคบๆ ทำให้การไหลเวียนของอากาศในเมืองมีประสิทธิภาพลดลง หรือการขวางทิศทางลมของอาคารขนาดใหญ่
3. อากาศเสีย และควันจากรถยนต์ และเครื่องปรับอากาศจะทำให้อากาศโดยรอบมีอุณหภูมิสูงขึ้น

ปรากฏการณ์ HEAT ISLAND จะเกิดเมื่อใด ?
HEAT ISLAND สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี ระหว่างกลางวัน และกลางคืน ความแตกต่างของอุณหภูมิ มักแตกต่างกันมากในช่วงลมสงบ และช่วงเย็นที่ท้องฟ้าแจ่มใส และมีแสงแดด เนื่องจากในชนบทอุณหภูมิจะลดลงได้อย่างรวดเร็วกว่าชุมชน โดยในพื้นที่เมืองจะดูดซับความร้อนไว้ในถนน อาคาร และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ และจะคายความร้อนได้ช้ากว่า

ประโยชน์ของ HEAT ISLAND
HEAT ISLAND มีประโยชน์ โดยเฉพาะประเทศเมืองหนาว คืออากาศในเมืองจะไม่หนาวจัด ทำให้สามารถช่วยให้ประหยัดพลังงานในการละลายน้ำแข็ง และหิมะบนท้องถนนได้
HEAT ISLAND กับภาวะเรือนกระจกมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ?
การเกิด HEAT ISLAND จะสามารถเสริมให้เกิดภาวะเรือนกระจกได้เช่นกัน เนื่องมาจากการใช้เครื่องปรับอากาศ จะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อการใช้พลังงาน และการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิส ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆ สูงขึ้น

ปรากฏการณ์โดยตรงของ HEAT ISLAND กับ EIA อาคารขนาดใหญ่
ที่ผ่านมาหลายฝ่ายพยายามที่จะผลักดันมาตรการการกำหนดพื้นที่สีเขียวภายในอาคาร และภายนอกอาคารให้มีสัดส่วนที่มากขึ้นเพื่อลดปัญหาการสะสมตัวของความร้อน ซึ่งสามารถลดปัญหาลงได้ หากโครงการมีพื้นที่สีเขียวภายในโครงการเอง
รวมถึงการกำหนดสีของอาคารให้ลดการสะสมของความร้อน หรือสามารถลดการสะท้อนความร้อนในเขตเมือง เป็นสิ่งจำเป็นที่บางครั้งผู้ประกอบการ หรืกบบริษัทที่ปรึกษาก็มักจะมองข้าม และไม่ให้ความสำคัญแต่เริ่มคิดโครงการ





จากหนังสือ ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 บทความวิชาการ เล่มที่ 1 สิ่งแวดล้อมและพลังงาน

วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

น้ำกรดที่แรงที่สุดในโลก


น้ำกรดอะไร ที่แรงที่สุดในโลก



รู้หรือเปล่า ว่ากรด คาร์โบเรน แรงกว่า กรดฟลูโอโรซัลฟูริก แอสิด ที่ครองแชมป์มาอย่างยาวนาน
เมื่อกล่าวถึงความเป็นกรดของสาร คนทั่วไปอาจคิดถึง ความสามารถในการกัดกร่อนของสารนั้น และอาจนึกภาพไปถึงการเอาน้ำกรดสาดหน้ากันให้เสียโฉม แต่แท้จริงแล้ว ในทางวิทยาศาสตร์นั้น มองความเป็นกรดของสารว่า สารนั้นจะมีความเป็นกรด (acid strength) มากหรือน้อยขึ้นกับว่า มีความสามารถในการเติมไฮโดรเจน ไอออนหรืออะตอมของไฮโดรเจนที่มีประจุให้แก่สารอื่นได้มากน้อยเพียงใด โดยถ้ามีความสามารถในการให้ไฮโดรเจนไอออนได้มาก ก็จะถือว่าเป็นกรดที่แรงมาก
กรดที่แรงมากๆ นี้ ภาษาวิทยาศาสตร์เรียกว่า “ซูเปอร์แอซิด” (superacid) เป็นกรดที่มีความสามารถในการให้ไฮโดรเจนแก่สารอื่นได้มาก คุณ คริสโตเฟอร์ รีด แห่งมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย และเพื่อนร่วมงาน ได้สร้างกรดที่มีความแรงมากที่สุดในโลกขึ้น ชื่อ กรดคาร์โบเรน (carborane acid) โดยมีความแรงมากกว่ากรดซัลฟิวริกเข้มข้นถึงหนึ่งล้านเท่าตัวเป็นอย่างน้อย แต่แม้จะมีความเป็นกรดมากออกปานนั้น ความสามารถในการกัดกร่อนกลับน้อยมาก
โดยทั่วไป กรดที่มีความแรงจะควบคู่ไปกับความสามารถในการกัดกร่อนได้สูง เช่น กรดฟลูออโรซัลฟิวริก (fluorosulphuric acid) ซึ่งเป็นซูเปอร์ แอซิดที่ครองแชมป์แรงที่สุดก่อนหน้านี้ สามารถกัดกร่อนได้สูงมาก โดยสามารถกัดแก้วได้ทะลุเลยทีเดียว
แต่สำหรับซูเปอร์แอซิดตัวใหม่นี้ มีสูตรเคมีเป็น H(CHB11Cl11) ทำให้มีความพิเศษออกไป นั่นคือ แม้จะเป็นกรดที่แรงที่สุด (มีความสามารถในการให้ไฮโดรเจนได้ดีที่สุด) แต่เมื่อกรดตัวนี้ให้ไฮโดรเจนไอออนออกไปแล้ว จะเหลือส่วนที่เป็นประจุลบ (ซึ่งส่วนที่เป็นประจุลบจะทำหน้าที่ในการกัดกร่อน) โดยอยู่ในรูปของโบรอนอะตอม 11 ตัว จับอยู่กับอะตอมคาร์บอนหนึ่งตัว กลายเป็นโครงสร้างที่เรียกว่าไอโคซะฮีดรอน (icosahedron) โครงสร้างนี้กลายเป็นโครงสร้างทางเคมีที่มีความคงตัวหรือมีความเสถียรที่สุด เลยทีเดียว ดังนั้น จึงสามารถเก็บกรดนี้ไว้ได้ในภาชนะทั่วไป ไม่ทำให้เกิดการกัดกร่อนอย่างรุนแรง เหมือนกรดฟลูออโรซัลฟิวริก
“กรดคาร์โบเรนนี้ ให้ความเป็นกรดที่ปลอดภัย ปราศจากความโหดร้ายรุนแรง” คุณคริสโตเฟอร์ กล่าว และบอกถึงแรงผลักดันที่ทำให้ทีมวิจัยสร้างกรดตัวนี้ขึ้นมาว่า เป็นเพราะต้องการสร้างโมเลกุลใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน
กระนั้น ซูเปอร์แอซิดตัวนี้ ก็มีประโยชน์นะครับ เช่น ใช้ในการสร้างความเป็นกรดให้แก่โมเลกุลของสารอินทรีย์ได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งแรกที่ทีมวิจัยจะทำต่อไปก็คือ จะทดลองใช้กรดนี้ สร้างความเป็นกรดให้แก่ก๊าซเฉื่อย อย่างเช่นก๊าซซีนอน (เพราะเป็นที่รู้กันดีว่า ก๊าซเฉื่อยนั้นทำปฏิกิริยากับสารอื่นๆ ได้ยาก) ด้วยเหตุผลง่ายๆ เช่นกันครับ คุณคริสโตเฟอร์บอกว่า “เพราะยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน