วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

แก้ปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก ด้วย เขื่อน หรือ ฝาย

แก้ปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก ด้วย เขื่อน หรือ ฝาย
น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีประโยชน์มหาศาลต่อ ทุกๆ ชีวิต ประเทศเรามีศักยภาพของแหล่งน้ำอย่างเหลือเฟือ แต่เราก็ยังประสบกับภัยแล้งซ้ำซากอยู่ทุกปี!!! เพราะอะไรหรือ ?
ในอดีตที่เรายังมีประชากรน้อย อุตสาหกรรมยังไม่เติบโต เกษตรกรรมยังไม่ขยายตัว ทั้งการเพาะปลูกพืชในฤดูแล้งก็เป็นเพียงพืชไร่ในพื้นที่ป่าขนาดเล็กต้องการน้ำไม่มาก ในสภาพนั้นเราจึงมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ ตลอดปี ยกคุณความดีให้กับความอุดมสมบรูณ์ของป่าเขา ต้นน้ำ ลำธาร และสรุปว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำในปัจจุบันมีสาเหตุจากการ ตัดต้นไม้ ทำลายป่า ต้นน้ำลำธาร ถ้าจะให้มีน้ำใช้เพียงพอเหมือนในอดีต ก็จะต้องฟื้นฟูสภาพป่าเขา ต้นน้ำ ลำธาร ให้กลับคืนดีดังเดิม... นี่เป็นความจริงหรือ ?
การแก้ปัญหาภัยแล้งซ้ำซากด้วยวิธีนี้ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ
ประการแรก การฟื้นฟูสภาพป่าเขา ต้นน้ำ ลำธาร ยังคงทำได้ล่าช้ากว่าการถูกทำลาย แม้รัฐบาลจะใช้ความพยายามมาอย่างยาวนาน แต่ต้องใช้ความพยายามต่อไป
ประการที่สอง ถ้าวันหนึ่งเราฟื้นฟูสภาพต้นน้ำ ลำธาร สำเร็จ แต่ปริมาณน้ำในฤดูแล้งก็ไม่เพียงพอหับความต้องการ แม้ปัจจุบันก็ยิ่งขาดแคลนมากขึ้น เนื่องมาจากจำนวนของประชากรที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้ง เช่น การทำนาปรังที่ต้องใช้น้ำมาก... แล้วจะทำอย่างไร
อุปสรรคใหญ่ คือ การต่อต้านของกลุ่มอนุรักษ์ที่มีความรัก และหวงแหงทรัพย์สมบัติของชาติ โดยดำเนินการชี้นำราษฎรในพื้นที่โครงการให้เห็นว่าการก่อสร้างเขื่อนเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่จะนำภัยพิบัติมาให้
ปัจจุบันจึงเน้นไปที่กิจกรรมมวลชนสัมพันธ์
กิจกรรมแรก ควรดำเนินการเมื่อเริ่มต้นการศึกษาโครงการ เพื่อให้ประชนได้รับทาบลักษณะและแผนงานคร่าวๆ
กิจกรรมที่สอง ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น เพื่อนำไปปรับปรุง ให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนมากที่สุด
กิจกรรมสุดท้าย เมื่อได้กำหนดรูปแบบ และแผนงานโครงการชัดเจนแล้ว นำเสนอให้ประชาชนไดรับทราบ
เมื่อได้ข้อสรุปแล้วการแก้ไขปัญหาภัยแล้งซ้ำซากจำเป็นต้องกักเก็บน้ำส่วนเกินในฤดูแล้ง อาจจะเป็นสระน้ำ ฝาย หรือเขื่อนกักเก็บน้ำ
1. เป็นการก่อสร้างฝายกักเก็บน้ำบนลำน้ำ ปริมาตรกักเก็บเหนือฝายมีน้อย และยังมีตะกอนทรายตกทับถม ทำให้ปริมาตรลดลงอีก ฝายชนิดนี้มีประโยชน์น้อยมาก ถ้าไม่มีน้ำไหลเป็นปกติในลำน้ำระหว่างฤดูแล้ง เพราะจะแห้งขอดลง เแต่เดิมเราก่อสร้างฝายในลำน้ำที่มีต้นทุนไหลอยู่เพื่อผันน้ำเข้าสู่คลองส่งน้ำชลประทานที่มีปากคลองอยู่เหนือฝาย เรียกว่าฝายทดน้ำ คลองส่งน้ำสายหลักจะลัดเลาะไปตามเส้นชั้นความสูงมีคลองซอยเพื่อกระจายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกอย่างทั่วถึง
2. เป็นการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำนี้จะมีท่อส่งน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำส่งน้ำเข้าคลองชลประทาน หรือมีฝายทดน้ำผันน้ำเข้าพื้นที่ชลประทานทางด้านท้ายน้ำก็ได้
เห็นได้ว่าการแก้ปัญหาภัยแล้งซ้ำซากที่ดีควรจะมีเขื่อนเก็บกักน้ำไว้เป็นน้ำต้นทุนไว้ใช้ในฤดูแล้ง มีฝายทดน้ำทางท้ายน้ำเพื่อกระจายน้ำให้กับพื้นที่ที่ต้องการ ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เช่น เขื่อนภูมิพล ที่กักเก็บน้ำได้เป็นปริมาณที่มหาศาล เป็นแหล่งน้ำต้นทุน และมีเขื่อนเจ้าพระยา ที่ทำหน้าที่เป็นฝายทดน้ำส่งน้ำเข้าคลองหล่อเลี้ยงพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
การแก้ปัญหาภัยแล้งซ้ำซากจะเลือกใช้เขื่อน หรือฝาย หรือใช้ทั้งสองอย่างก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม



จากหนังสือ ก้าวสู่ทศวรรษที่ ๓ บทความวิชาการ เล่มที่ ๓ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น